รู้สิ่งนี้…หยุดละลายเงินกับปุ๋ยหวาน

          หลายๆคนอาจทราบอยู่แล้วว่า ปุ๋ย K (โพแทสเซียม) เป็นปุ๋ยที่ช่วยเพิ่มความหวานของผลไม้ เลยเน้นใส่ปุ๋ย K เยอะๆ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือ เมล่อนก็ไม่ได้หวานมากกว่าเดิม เป็นเพราะว่า การให้ปุ๋ย K เป็นแค่ส่วน 1 ในอีกหลายๆขั้นตอนของการทำหวานเมล่อน การที่จะทำเมล่อนให้หวานจะต้องดูแลให้เริ่มสร้างความสมบูรณ์ให้กับต้น ให้แข็งแรงตั้งแต่แรกเราต้องให้ปุ๋ยตามที่เมล่อนในแต่ละช่วงอายุเพื่อสร้างความสมบูรณ์ของต้นและพร้อมที่จะทำหวาน พอถึงเวลาทำหวานพืชจะดูดอาหารทั้งหมดที่สะสมไว้ที่ใบมาให้ที่ลูกเองโดยธรรมชาติ ฉะนั้นการเน้นให้เร่งปุ๋ย K ในช่วงติดผลจึงไม่ถูกต้องทั้งหมด

3 ขั้นตอนสร้างความหวาน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจกลไกความหวานก่อน ความหวานในผลไม้เกิดจาก 3 ขั้นตอนนี้

    1. สะสมอาหารที่ใบ
    2. เปลี่ยนธาตุอาหารเป็นน้ำตาล
    3. เคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบมาที่ผล

จุดเริ่มต้นของการทำหวานเริ่มจากสะสมอาหารที่ใบ

          การสะสมอาหารของใบ ได้จากการที่รากดุดปุ๋ยจากดินขึ้นมาที่ใบ (เดี่ยวนี้วิวัฒนาการทันสมัยมีการให้ปุ๋ยทางใบ เสริมทางดิน เพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น)

ใบที่มีการสะสมอาหารที่มากพอ จะมีลักษณะ

    1. ใบมีสีเขียวเข้ม
    2. มีลักษณะหนา

ถ้าใบเขียวเข้ม ใหญ่ หนา และเยอะ ถือว่าต้นไม้สมบูรณ์


แต่ถ้าใบเขียวสด (ไม่ใช่เขียวเข้ม) เยอะแต่ไม่หนา เรียกว่า “บ้าใบ” แบบนี้เมล่อนจะไม่หวาน แล้วถ้าใบสะสมอาหารเต็มที่ จะย้ายไปสะสมที่กิ่งก้าน กิ่งก้านจะอวบอ้วนเต่ง

เปลี่ยนธาตุอาหารเป็นน้ำตาล

จากนั้นใบจะทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เปลี่ยนเหมือนเป็นโรงครัว ที่ที่ปรุงธาตุอาหารที่ได้ (ทั้งทางดิน และทางใบN P K Ca Mg S B Fe Mn Zn Cu MO Ni Cl น้ำ และอากาศ) เป็นอาหารที่พืชกินได้ นั่นก็คือ แป้ง น้ำตาล กรดอะมิโน ฮอร์โมน เอ็นไซน์ วิตามินต่างๆ กลิ่น สี รส

ดังนั้นถ้าใบไม่มีอาหาร ก็ไม่มีแป้ง ไม่มีน้ำตาล และไม่มีสารอาหารอื่นๆ (เช่น วิตามิน แร่ธาตุ) จึงไม่มีอะไรย้ายมาที่ลูก ต่อให้ใส่อะไรไปผลก็จืด คราวนี้ถ้าใบมี สารอาหารต่าง ๆ สารอาหารเหล่านี้จะย้ายมาที่ผล

เคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบมาที่ผล

พืชจะย้ายแป้ง น้ำตาล และสารอาหารต่างๆ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ กลิ่น มาที่ลูกกลไกการย้ายมาจาก ความเข้มข้นของสารแป้ง และสารต่างๆ ที่ผลิตที่ใบ นึกออกไหมครับ พอใบสังเคราะห์แสงเก็บสารอาหารต่างๆ เช่น แป้ง น้ำตาลไว้ในใบระดับความเข้มข้นของแป้ง น้ำตาลที่ใบ ก็จะสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ คราวนี้ ผลที่เพิ่งเกิดก็ยังไม่มีสารอาหารต่างๆ ในลุก ความเข้มข้นของแป้ง น้ำตาลจะต่ำ แป้ง น้ำตาลจากใบก็จะไหลผ่านท่ออาหารเข้ามาที่ลูก และซึมเข้าไปในผลโดยการทำงานของโพแทสเซียม (K) ร่วมกับ โบรอน (B) ดังนั้น K จึงเปรียบเสมือนปุ๋ยเคลื่อนย้ายความหวาน และแร่ธาตุต่าง ๆ นั่นคือ K และ B เป็น ระบบขนส่งภายในของต้นไม้โดยมีท่ออาหารเป็นเหมือนถนน

สรุป

    • ถ้าใส่ปุ๋ยให้ครบ ให้ใบสะสมอาหารเต็มที่ แล้วให้ปุ๋ย ที่มี  K สูงร่วม กับ B (ส่วน B ผมแนะเสมอว่าให้เลือก 15-0-0+B) แบบนี้ หวานแน่
    • กลับกันคับ ถ้าใบไม่สะสมอาหาร จะใส่ปุ๋ยเร่งอะไรก็ไม่หวาน
    • ใบสะสมอาหารไม่ใช่แค่ แป้งหรือน้ำตาล (มือใหม่หลายคนเข้าใจว่า สะสมน้ำตาล) ดังนั้นถ้าเราให้ปุ๋ยไม่ครบ การสะสมอาหารที่ใบก็จะลดน้อยลงไป
      การให้ธาตุอาหารครบทุก ๆ ธาตุอาหาร 2 ชนิด จะเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของ ใบ ขึ้นทีละ 10 เท่า เช่น ธาตุ 4 ชนิด ก็ 100 เท่า 6 ชนิดก็ 1000 เท่า …ธาตุครบ 14 ชนิดก็ 10,000,000 เท่า

          นี่ก็เป็นหลักการและพื้นฐานการทำหวานเมล่อน เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เราก็สามารถปลูกเมล่อนที่หวานได้โดยไม่เสียค่าปุ๋ยที่มากจนเกินไป และสามารถพัฒนาเทคนิคการปลูกของตัวเองได้อย่างมีหลักการ และมีการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามการปลูกเมล่อนสามารถสอบถามได้ที่ LINE: @bokujoufarm หรือติดตามเรื่องราวการทำ “ภูมินิเวศเกษตร” ได้ที่ เพจ นิทานบ้านไร่ bokujou

          เมล่อนของ “นิทานบ้านไร่ bokujou” ปลูกในรูปแบบของ “ภูมินิเวศเกษตร” ปลอดสารพิษและมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรับประกันความหวาน หากสนใจเมล่อนของ นิทานบ้านไร่ bokujou สามารถจองได้ที่ LINE: @bokujoufarm เราเปิดจองพร้อมโปรโมชั่นในแต่ละเดือน ผ่านทางLINEที่คนชอบผลไม้ต้องไม่พลาด

ถ้าชอบบทความ หรือสาระความรู้นี้มีประโยชน์
อย่าลืมแชร์ต่อให้เพื่อนๆได้อ่านด้วยนะครับ 

Top