โรงเรือนเมล่อน

สิ่งสำคัญที่ควรรู้ในการเตรียมโรงเรือนเมล่อน

          โดยปกติการปลูกพืชในที่โล่งแจ้งกับพืชท้องถิ่นทั่วไปมักจะไม่ค่อยเจอปัญหาเท่าไรนัก แต่สำหรับพืชบางชนิดอย่างเมล่อน หากเรานำมาปลูกกลางแจ้งอาจจะต้องเจอปัญหาการระบาดของแมลง หรือเชื้อราที่เกิดจากความชื้นของฝน ทั้งยังปัญหาสภาพอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงนิยมเพาะปลูกกันในโรงเรือน

การสร้างโรงเรือนนั้นถือเป็นการลงทุนก้อนใหญ่ และเปรียบเหมือนกระดุมเม็ดแรกที่จะติดผิดไม่ได้ ดังนั้นเรามาดูขั้นตอนและวิธีการทำอย่างละเอียดกันเลยครับ

ลักษณะหลังคา

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

 

              โรงเรือนปรับอากาศ  เหมาะสำหรับพืชที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ  เช่น พืชเมืองหนาว แต่สำหรับเมล่อนเป็นพืชที่ไม่ต้องการควบคุมอุณหภูมิอะไรขนาดนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องใช้โรงเรือนปรับอากาศ จะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้สูงโดยเปล่าประโยชน์

             โรงเรือนปลูกพืชแบบทรง หลังคา ก.ไก่  ระบายอากาศได้ดี

             โรงเรือนปลูกพืชแบบทรงหลังคาโค้ง  จะค่อนข้างปิดสนิท  แต่จะระบายอากาศได้ไม่ดีเท่าโรงเรือนแบบหลังคา ก.ไก่  ส่วนมากจะแก้ไขโดยการยกหลังคาให้สูงขึ้นเพราะหลังคายิ่งสูงอากาศก็จะไม่ค่อยร้อน

ที่สวนเราใช้แบบทรงหลังคา ก.ไก่ เพราะระบายอากาศได้ดี และถ่ายเทอากาศภายในโรงได้ดี

พลาสติก UV 7% 150 ไมครอนแบบหนา

ที่สวนเราใช้พลาสติก UV 7% 150 ไมครอนแบบหนา เพราะ มีส่วนผสมของสารเพิ่มความทนทานต่อ UV (UV Resistant) ลงไปในเนื้อพลาสติก 7% และมีความหนาถึง 150 ไมครอนเพราะจะสามารถทนต่อ ความร้อน  แรงลม ลูกเห็บ ได้ดีกว่า100 ไมครอน

หลายคนมักเข้าใจผิด “หนากว่า=ทนแดดได้นานกว่า” ไม่จริง ความทนทานต่อแสงแดด ถ้าพลาสติกผสมสารเพิ่มความทนทานต่อ UV เท่ากัน ต่อให้ความหนาต่างกัน ความทนทานต่อแสงแดดย่อมไม่ต่างกันมากนัก แต่ความทนทานต่อแรงกระทำอื่นๆ เช่น แรงลม หนูแทะ ฝนตก ความร้อน ลูกเห็บ ความหนามีผลต่อแรงกระทำในส่วนนี้แน่นอน

 

 

มุ้งตาข่าย

 

มุ้งตาข่ายมี2ขนาด ได้แก่ 32 ตา 40 ตา โดยทั้ง2ตามีข้อดีข้อเสียต่างกัน

มุ้งกันแมลง 32 ตา ส่วนมากจะนิยมใช้กับผักกินใบ  เช่น ผักคะน้า, ผักบุ้ง เป็นต้น  

ส่วนมุ้งกันแมลง 40 ตา จะนิยมใช้กับเมล่อนเป็นส่วนมาก เพราะสามารถป้องกันแมลงที่ตัวเล็กมากๆเข้าไป เช่น เพลี้ยไฟ ,แมลงหวี่ขาวซึ่งเป็นภาหะของโรคไวรัสในเมล่อน

อย่างไรแล้วก็ตามไม่ว่าจะใช้มุ่งตาข่ายกันแมลงแบบ 32 ตา หรือ 40 ตา แมลงหวี่ขาและเพลี้ยไฟก็สามารถเข้าได้ทั้งนั้น อีกอย่าง การใช้ตาข่ายแบบ 40 ตา จะยิ่งทำให้อากาศในโรงเรือนระบายได้ไม่ดีอีกด้วย  ส่วนเรื่องแมลงส่วนมากที่ทุกคนจะพลาดกันก็คือช่วงจังหวะเปิดประตูหรือช่วงที่เราย้ายมาจากอีกโรงนึงมายังอีกโรงนึง แมลงพวกนี้จะติดตัวเราเข้ามาด้วย  คราวนี้เรื่องตาข่ายก็เป็นเรื่องรองไปเลย เพราะเรื่องที่สำคัญ คือ ระบบการจัดการดูแลของเรา ว่าจะจัดการได้ดีมากน้อยเพียงใด

พลาสติกคลุมโรงเรือน มีอยู่ 3 ประเภทคือ

พลาสติกกำจัดหญ้า รุ่น NON-UV        อายุการใช้งาน 1-2 ปีมีความหนาแน่น  110 g/m2  ไม่มีสารเคลือบ ยูวีโดนแดดนานๆจะทำให้เปราะฉีกขาดได้ อายุการใช้งานไม่นาน

พลาสติกสานกำจัดวัชพืช (รุ่น UV)       อายุการใช้งาน 5-8 ปี มีความหนาแน่น  110 g/m2  แต่มีสารเคลือบกันยูวีจะทำให้สามารถทนต่อแสงแดดได้ดีกว่า แบบไม่มีเคลือบยูวี

พลาสติกสานกำจัดวัชพืช (Extra UV)      อายุการใช้งาน 10ปีขึ้นไปมีความหนาแน่น 240 g/m2 มีสารเคลือบกันยูวีชนิดพิเศษ จะทำให้สามารถทนต่อแสงแดดได้ดีกว่า แบบเคลือบยูวีธรรมดา

แต่ที่สวนเราใช้หินกรวดขนาด 3/8 ในการปูนพื้นโรงเรือนเพราะเราลองใช้พลาสติกแต่ละชนิดแล้ว ปรากฏว่าน้ำซึมผ่านได้แต่อย่าลืมว่าปุ๋ยซึมผ่านไม่ได้พอโรงเรือนแห้งก็จะเกิดคราบปุ๋ยแห้งติดเป็นแผ่นๆ เราจึงหันมาใช้หินกรวดแทนเพราะทั้งน้ำและปุ๋ยสามารถซึมผ่านได้ลงไปอย่างรวดเร็ว และยังไม่ทิ้งคราบปุ๋ยอีกด้วย

ทิศทางโรงเรือน          

แนะนำให้ตั้งไปตามแนวทิศเหนือใต้เพราะจะทำให้พืชจะได้รับแสงแดดได้เต็มที่ตลอดวัน

 

การติดพัดลม หรือ พัดลมระบายอากาศในโรงเรือน 

การติดพัดลม หรือ พัดลมระบายอากาศในโรงเรือนถือว่าไม่แนะนำอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการช่วยการแพร่กระจายของเชื้อราอย่างดีเลยทีเดียว อีกอย่างเมล่อนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อโรคมากเพราะฉะนั้นเราจึงไม่ค่อยแนะนำให้ทำการติดตั้งครับ และที่สำคัญต้นเมล่อนไม่จำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิอะไรขนาดนั้นจึงคิดว่าไม่จำเป็นเลยครับ

การทำประตูเข้าโรงเรือน

การทำประตูเข้าโรงเรือน เป็นการป้องกันไม่ให้แมลงบินเข้าไปได้ แต่จุดเล็กเล็กๆที่หลายคนมองข้ามอาจจะกลายเป็นหายนะอันยิ่งใหญ่ คือทางเข้าโรงปกติโรงเรือนจะต้องทำประตู 2 ชั้นทั้งนี้เพราะเป็นการป้องกันแมลงเข้าโรงโดยตรง มีสองประตู อย่างน้อยเราเข้าไปประตูแรกเราจะยังมีโอกาสเช็คได้ว่าเราเปิดชั้นแรกเข้ามามีแมลงอะไรตามเข้ามาไหม ถ้ามีเราจะได้กำจัดไปเสียก่อนเปิดประตูชั้นที่2  เพราะถ้าหากเรามีประตูแค่ชั้นเดียว เปิดปุ๊บแมลงก็จะเข้าโรงเราโดยตรงเลย

ลวดสลิง เหล็ก และ การผูกลูก

เราจะใช้ลวดสลิงเพื่อใช้ยึดกับลำต้นเมล่อนเพื่อให้ต้นเรื่อยขึ้นไปทางด้านบนเราจะไม่ใช้สลิงเพื่อรับน้ำหนักลูกเราจะใช้คานเหล็กแทนลวดสลิงในการรับน้ำหนักลูกเมล่อนแทน เพราะลูกเมล่อนมีน้ำหนักมากอาจจะทำให้สลิงตึงเกินไปจนเกิดการบิดเบี้ยวของโรงเรือน ส่วนบริเวณขั้วผลของลูกเราจะใช้ตาข่ายประคองลูกเมล่อนแทนการผูกเชือกตรงบริเวณขั้วผลเพราะจะทำให้เกิดการรัดและทำให้ขั้วหลุม มีผลต่อการขายลูกเมล่อนแน่นอน

ทางฟาร์มเราเห็นว่าที่กล่าวมาข้างต้นเราทดสอบใช้แล้วเห็นผลลัพธ์ที่ดีแต่อย่างไรก็ตามหากเพื่อนๆคนไหนมีไอเดียหรือแนวคิดอะไรใหม่ๆก็สามารถนำไปปรับใช้กันได้ครับ ส่วนหากสงสัยหรืออยากปรึกษาเราสามารถเข้ามาปรึกษากันได้ ทางเรายินดีต้อนรับครับ

Top