0.00 ฿
What are you Looking for?
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า “ชันโรง” มีความสามารถในการผสมเกสรที่ทำให้พืชมีการติดผลมากขึ้น เพราะชันโรงมีพฤติกรรมเก็บเกสรมากกว่าน้ำหวาน และไม่ทิ้งรัง จะสร้างรังถาวรและอาศัยในรังนั้นนานเป็นสิบปี จึงมีการนำมาช่วยเพิ่มผลผลิตทางเกษตรที่มากขึ้น…………แต่การการใช้ชันโรงแบบไม่รู้อะไรเลยหรือใช้แบบผิดๆก็อาจจะทำให้เกิด….หายนะ….ที่ตามมาเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าการระบาดของโรคนั้นแพร่เร็วมาก เนื่องจากมีชันโรงเป็นตัวแพร่กระจายของโรคนั้นเอง โดยช่วงสัปดาห์แรกผ่านไปยังไม่พบอาการของโรคใด พอสัปดาห์ที่2 ผ่านไปเริ่มเห็นต้นเมล่อนแสดงอาการของโรขึ้นชัดเจนประมาณ 40 เปอร์เซนต์ พอสัปดาห์ที่3 ผ่านไป……..ปรากฎว่าโรคระบาดเต็มโรงเลย
ใช่ครับ ตอนเริ่มทำกันแรกๆก็ไม่ได้คิดอะไร ก็ปล่อยชันโรงไปปกติแต่ว่าเราจะนำชันโรงเข้าโรงช่วงก่อนดอกจะบานนะครับ ก็ปล่อยไว้สัก 1 สัปดาห์ก็เข้าไปตรวจดู พอตรวจดูต้นแรกๆก็ถึงกับ ฉะงักอยู่สักพัก มานั่งคิดแล้วเราจะรู้ได้ไงว่าดอกนี่ผสมวันไหน แล้วต้องเก็บวันไหน ผมเริ่มกวาดสายตามองทั่วโรงก็พบว่า ขนาดของผลที่ติดลูกนั้นไม่เท่ากันต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเลยก็ว่าได้ นั้นแปลว่าการผสมของชันโรงนั้นไม่ได้ผสมพร้อมกันในวันเดียว ดั้งนั้นอายุของเมล่อนก็จะแตกต่างกันออกไปและเราไม่สามารถทราบได้ด้วยว่าอายุเมล่อนแต่ละต้นนั้นกี่วัน ซึ่งก็จะยากต่อการจัดการกับระบบน้ำและปุ๋ย
เพราระบบปุ๋ยโรงเมล่อนส่วนใหญ่จะทำหัวน้ำหยดมาให้พอดีกับจำนวนต้นเมล่อน ระบบน้ำจะเซ็ตทั้งแรงดันน้ำและความดันในระบบท่อให้คงที่ เวลาเปิดน้ำระบบก็ทำงานปกติ …… แต่ถ้าเมล่อนเราเก็บไม่พร้อมกัน ต้องปิดสายน้ำท่อใดท่อหนึ่ง แน่นอนว่าความดันในระบบท่อต้องเปลี่ยนเผลอๆอาจจะทำให้ท่อแตก หรือเกิดปัญหาได้ครับ
มันไม่ได้ง่ายแบบที่คิดไว้เลยว่าแค่ปล่อยแล้วให้ชันโรงผสมก็จบ
เมล่อนของ “นิทานบ้านไร่ bokujou” ปลูกในรูปแบบของ “ภูมินิเวศเกษตร” ปลอดสารพิษและมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรับประกันความหวาน หากสนใจเมล่อนของ นิทานบ้านไร่ bokujou สามารถจองได้ที่ LINE: @bokujoufarm เราเปิดจองพร้อมโปรโมชั่นในแต่ละเดือน ผ่านทางLINEที่คนชอบผลไม้ต้องไม่พลาด