เมล็ดจากลูกเมล่อน นำไปปลูกต่อได้หรือไม่?

          ใครที่เคยกินเมล่อนหวานๆหรือผลไม้อร่อยๆ ก็คงอยากจะเอาเมล็ดจากเมล่อนหรือผลไม้ที่พึ่งกินเสร็จไป ไปปลูกต่อเพื่อหวังที่จะได้เมล่อนหวานๆมากินอีกครั้งนึง . . . แต่ว่ามันจะได้เมล่อนหวานๆอย่างนั้นรึเปล่า???

ถามว่าเอาเมล็ดไปปลูกต่อ ปลูกได้มั๊ย???

คำตอบคือ
ปลูกได้ . . . งอกเป็นต้นได้ลูกเมล่อน . . . แต่ . . . 

    1. จะหวานหรือไม่หวาน ขึ้นอยู่กับการปลูกดูแล
    2. ลักษณะสายพันธุ์หรือผลเมล่อนที่ได้
      รสชาติ กลิ่น หรือเนื้อ จะเหมือนเดิมหรือไม่
      เป็นเรื่องของความแปรปรวนของพันธุกรรม

เมล่อนจะหวานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ . . .

เมล่อนจะหวานอร่อยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย ได้แก่ สายพันธุ์ และ การปลูก

ปัจจัยด้านสายพันธุ์
ปัจจัยด้านการปลูก

ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น

การปรับปรุงพันธุ์พืชคืออะไร

          การปรับปรุงพันธุ์พืช (Plant breeding) คือการพัฒนาสายพันธุ์ ทางพันธุ์กรรมของพืชเพื่อให้ได้พืชพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดีกว่าเดิมหรือตามที่เราต้องการ หนึ่งในวิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชก็คือการผสมข้ามสายพันธุ์ โดยการนำสายพันธุ์2สายพันธุ์ที่มีลักษณะดีที่เป็นที่ต้องการมาผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์และการผสมระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ในครั้งแรกนี้จึงเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเมล็ดพันธุ์ ”F1”

เมล็ดพันธุ์เมล่อนแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
1. พันธุ์เปิด หรือ ที่เรียกว่า โอ.พี. (O.P.)

          พันธุ์เปิด หรือ ที่เรียกว่า โอ.พี. (O.P.) ที่ย่อมาจากคำว่า Open breed คือ เมล็ดพันธุ์สายพันธุ์แท้ ที่มีพันธุ์กรรมคงที่ ไม่มีการแปรปรวนทางพันธุกรรม เพราะเป็นสายพันธุ์เดี่ยว หากมีการนำเมล็ดที่ได้จากการเพาะปลูกในรุ่นถัดๆ กันไปทำการเพาะปลูกขยายพันธุ์ ก็จะได้ต้นที่มีลักษณะที่เหมือนต้นเดิมทุกประการ ทั้งรูปทรง โครงสร้าง และผลผลิต เมล็ดพันธุ์ชนิดนี้เรา เราสามารถเก็บและปลูกต่อไปได้เรื่อยๆ

2. เมล็ดพันธุ์ F1 (F One-Hybrid)

          เมล็ดพันธุ์ F1 (F One-Hybrid) เป็นเมล็ดพันธุ์สายพันธุ์ลูกผสม ในชั่ว (รุ่น) ที่เกิดจากการผสมข้าพันธุ์ระหว่างพันธุ์แท้ 2 สายพันธุ์ หรือเรียกเข้าใจง่ายว่าพ่อและแม่พันธุ์ (อาจจะ 3 หรือ 4 สายพันธุ์ก็ได้) เมล็ดแบบ F1 ที่ได้ไปปลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะเกิดขึ้นผิดไปจากเดิมเนื่องจากเกิดจากการมี 2 สายพันธุ์หรือมากกว่ามาผสมกัน ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะคล้ายกับสายพันธุ์พ่อหรือสายพันธุ์แม่ ดังนั้นอาจจะทำให้ให้ลักษณะของพืชที่ได้นั้นดีขึ้น หรือเลวลงก็ได้ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าเมล็ดพันธุ์ชนิดนี้มีความแปรปรวนของพันธุกรรมสูง เมื่อนำไปปลูกจะมีความแตกต่างกันในหลายลักษณะ จะไม่เหมือนต้นแม่ จึงไม่เป็นที่นิยมในหมู่เกษตรกรในการเก็บเมล็ดมาทำพันธุ์ต่อไป จะมีก็แต่เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตในเชิงการค้าที่มีการผลิตมาโดยเฉพาะ เนื่องจากเมล็ด F1ให้ผลดีกว่า ผลผลิตสูงกว่า พันธุ์เปิด ส่งผลให้ในปัจจุบันเมล็ดพันธุ์มักจะเป็นลูกผสมหรือไฮบริดจ์เสียส่วนใหญ่ เพราะนอกจากผลดีทางพันธุกรรมแล้ว ยังควบคุมสายพันธุ์ไว้ในการควบคุมเพื่อหวังผลทางการตลาดได้ด้วย (ถือเป็นความลับทางการค้านะครับผม และลิขสิทธิ์ของเจ้าของสายพันธุ์นั้นๆ )

          ในมุมของเกษตกรก็เช่นกัน การเกษตรในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าไปมาก มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีลักษณะต่างๆ เช่น เนื้อผลมีความหวาน ลูกโต หรือ ทนทานต่อโรค ตามความต้องการของตลาด อีกทั้งยังพัฒนาให้เข้ากับสภาพอากาศและภูมิประเทศที่จะนำไปปลูกอีกด้วย จึงทำให้เมล็ดพันธ์มีราคาแพง เช่นเมล็ดพันธุ์ของเมล่อนที่มีราคาถึง เมล็ดละ 4-6 บาท โดยเฉพาะพันธ์คุนามิและโมมิจิ เมล็ดพันธ์ดีที่ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่นมีราคาสูงถึงเมล็ดละ 9 บาท ทำให้เกษตกรต้องการลดต้นทุนเรื่องเมล็ดพันธุ์จึงลองเอาเมล็ดรุ่นลูกไปปลูกต่อ และไม่ใช่แค่เกษตกร ผู้บริโภคที่ติดใจในรสชาติ ก็อยากจะนำเมล็ดไปปลูกต่อเช่นกัน

          นี่ก็เป็นความรู้ความด้านการปรับปรุงพันธุ์ และสาเหตุว่าทำไมเมล่อนที่ปลูกจากเมล็ดที่ได้จากลูกเมล่อนที่ซื้อมาถึงมีลักษณะที่แตกต่างจากแม่ของมัน ซึ่งอาจจะหวานกว่าต้นแม่ก็ได้ แต่อย่าลืมว่าเมล็ดเป็นเพียง 1 ในหลายๆปัจจัยของการปลูกหรือคุณภาพของเมล่อน (ผลผลิต)
          เมล่อนของ “นิทานบ้านไร่ bokujou” ปลูกในรูปแบบของ “ภูมินิเวศเกษตร” ปลอดสารพิษและมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรับประกันความหวาน หากสนใจเมล่อนของ นิทานบ้านไร่ bokujou สามารถจองได้ที่ LINE: @bokujoufarm เราเปิดจองพร้อมโปรโมชั่นในแต่ละเดือน ผ่านทางLINEที่คนชอบผลไม้ต้องไม่พลาด

ถ้าชอบชอบบทความ หรือสาระความรู้นี้มีประโยชน์
อย่าลืมแชร์ต่อให้เพื่อนๆได้อ่านด้วยนะครับ 

Top