ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่ใช่ศาสตร์ของสถาปัตยกรรม

          Bokujou หรือ สวนนิทานบ้านไร่ เราเริ่มจากผืนดินเปล่า ที่ไม่มีน้ำสักหยด ไม่มีต้นไม้สักต้น ค่อยๆปลูกต้นไม้จากกล้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการวางแผนและวางผัง ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เกษตรผสมผสานกับการออกแบบสิ่งแวดล้อม จนเป็นสวนเมล่อนภูมินิเวศเกษตร ที่สามารถรับรู้ได้ว่า เมล่อนที่นี่ปลอดสารพิษด้วย ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น และ ความรู้สึก

มาที่ Bokujou คุณจะรู้ว่าเมล่อนที่นี่ปลอดสารพิษโดย

  • ตาเห็น ; เห็นนก ผีเสื้อ และแมลง อยู่พึ่งพาอาศัยกันเป็นระบบนิเวศ
  • หูได้ยิน ; สัตว์สิ่งมีชีวิตหลากหลายที่อาศัยอยู่ในสวน
  • กลิ่น ; กลิ่นของธรรมชาติที่ไม่มีสารพิษเจือปน
  • ความรู้สึก ; สงบ

สวนนิทานบ้านไร่ จากผืนดินเปล่าสู่ภูมินิเวศเกษตร

ภูมิสถาปัตยกรรมศาสต์ ไม่ใช่ศาสตร์ของสถาปัตยกรรม

  • คนมักเข้าใจผิดคิดว่า “ภูมิสถาปัตย์” มีคำว่า “สถาปัตย์”
    ต้องเรียนที่ คณะสถาปัตย์ แต่ความจริงแล้ว
  • ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่ใช่ศาสตร์ของสถาปัตยกรรม
  • ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์การออกแบบและจัดการสิ่งแวดล้อม
  • ขณะที่สถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการออกแบบอาคาร
  • คำว่า “Architect” แปลว่า “ผู้สร้างสรรค์” และมีการนำไปใช้ในแขนงอื่นๆ เช่น
    Naval Architecture, Computre Architecture, Gold Course Architect,
    Financial Architect, Neuro Architect, Gene Architect

          การใช้ชื่อปริญญา “ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ภ.สถ.บ.)” เป็นเรื่องปกติในสากลที่ใช้กันโดยไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพราะเป็นศาสตร์คนละศาสตร์กัน แม้แต่ใบประกอบวิชาชีพก็ยังแยกและไม่เกี่ยวข้องกัน เช่นเดียวกับ ปริญญา “วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)” ที่มีอยู่ในคณะอื่นๆ เช่น คณะสังคมฯ คณะมนุษย์ฯ คณะเกษตรฯ
เช่นเดียวกับ คณะสัตวแพทย์ฯ ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะแพทย์ฯ และอยู่คนละส่วนกับคณะสัตว์บาล

ภูมิสถาปัตย์เป็นศาตร์ของใคร???

  • คำว่า “ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์การออกแบบและจัดการสิ่งแวดล้อม” ฟังดูแล้วอาจจะเหมือนอยู่ที่คณะเกษตรฯ
  • คำว่า “สถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการออกแบบอาคาร” ฟังแล้วดูเหมือนจะไม่ได้อยู่ที่คณะสถาปัตย
  • ภูมิสถาปัตย์ไม่ใช่ศาสตร์ของใครทั้งนั้น

          ภูมิสถาปัตย์ไม่ใช่ศาสตร์ของใครทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าหลักสูตรนั้นมีจุดประสงค์ต้องการผลิตบัณฑิตให้มีจุดเด่นแบบไหน

ในต่างประเทศ ภูมิสถาปัตย์อยู่นอกคณะสถาปัตย์มากถึง 68%

          การเปิดหลักสูตร “หลักสูตรการออกแบบภูมิทัศน์” ในคณะที่ไม่ใช่คณะสถาปัตย์ฯ มีมากมายถึง 68% เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) มีการเปิดหลักสูตรใน คณะเกษตรศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อม หรือคณะอื่นๆที่ไม่ใช่คณะสถาปัตย์ และแม้ว่าจะมีคณะสถาปัตย์ฯอยู่ร่วมมหาวิทยาลัยเดียวกันก็มีอยู่ถึงครึ่งหนึ่งที่หลักสูตรนี้เปิดอยู่ในคณะเกษตรฯ เช่น มหาวิทยาลัยคอร์แนล และในประเทศญี่ปุ่น หลักสูตรนี้จะอยู่ในโรงเรียนเกษตรเกือบ 100%

น่าเสียดาย . . .

ประเทศไทยมีหลักสูตรภูมิสถาปัตยฯที่เรียนบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เกษตรในคณะเกษตรฯ
ร่างโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ของประเทศไทย
     อ. กนก เหวียนระวี
     ดร. ดนัย ทายตะคุ
     ดร. พรธรรม ธรรมวิมล
     และมี ศ. จามรี จุลกะรัตน์ ให้คำวิพากษ์หลักสูตรนี้ว่า
     “เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของประเทศและสาขาวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

เป็นหลักสูตรภูมิสถาปัตย์แรกที่เน้นสอนออกแบบ จัดการสิ่งแวดล้อม ที่คำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ประกอบการตัดสินใจในการออกแบบจัดการเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

น่าเสียดาย . . .
หลักสูตรนี้มีมติให้เปิดตั้งแต่ปี 2556 แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้ยังไม่ได้เปิดจริง . . . . . . . . .

          และนี่ก็เป็นเรื่องราวของ ภูมิสถาปัตย์ และ เกษตรศาสตร์ ที่หลายๆคนคงไม่รู้และควาดไม่ถึง เรายังมีเรื่องของ การเกษตร และสิ่งแวดล้อมอีกมาก ที่จะมาเล่าให้ฟัง ฝากกดติดตาม “เพจ นิทานบ้านไร่ bokujou.org และกดแชร์เพื่อแบ่งปันความรู้นี้ให้เพื่อนๆได้อ่านด้วย

Top