0.00 ฿
What are you Looking for?
ภูมินิเวศเกษตร เป็นการเกษตรที่สามารถฟื้นฟูธรรมชาติได้โดยที่สามารถคงและพัฒนาไม่ลดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในเรื่องของผลผลิตที่ปลอดสารพิษ ได้จากระบบนิเวศ หรือสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่มาพึ่งพาอาศัยอยู่ในพื้นที่ภูมินิเวศเกษตร
ภูมินิเวศเกษตร (Agroscape = Agricultural Landscape)
ภูมิทัศน์การเกษตร (Agricultural Landscape หรือ Agroscape)
“หากนำความรู้การออกแบบภูมิลักษณ์และสิ่งแวดล้อมนี้
ไปประยุกต์และถ่ายทอดไปสู่การเกษตรได้
จะพัฒนาการเกษตรและช่วยรักษาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมได้มาก
เพราะเกษตรกรเป็นผู้ที่ใช้แผ่นดินอยู่มากที่สุด
อีกทั้งยังใกล้ชิดและใช้ประโยชน์โดยตรงจากธรรมชาติ”
อาจารย์ กนก เหวียนระวี
นักธุรกิจเจ้าของกิจการบ้านจัดสรรและสนามกอล์ฟกรุงกวี
อาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
ภูมิทัศน์การเกษตร (Agricultural Landscape หรือ Agroscape) หมายถึง ลักษณะภูมิทัศน์ที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลของกิจกรรมโดยเกษตรกรเป็นหลัก[1] เช่น การปลูกพืช การไถพรวน ระบบชลประทาน การให้ปุ๋ย และการเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศ (เช่น ระบบระบายน้ำ ความสูงต่ำของพื้นที่)[2]
[1] Kizos, T. and G. Vlahos, The evolution of the agricultural landscape. Reclaiming the Greek landscape, 2012. 97(2): p. 133-143.
[2] de Bakker, H., Major soils and soil regions in the Netherlands. 2013: Springer Science & Business Media.
ภูมินิเวศเกษตร (Agroscape) หมายถึง การเกษตรที่ทำร่วมกับการฟื้นฟูสมดุลของระบบนิเวศ สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ การมีไม้ต้นและพืชผลทางการเกษตรในหลายระดับชั้นที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์จากพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างเกื้อกูลกัน ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก รวมถึงระบบที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ตลอดจนเน้นการใช้เทคนิคและเทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธรรมชาติเพื่อเพิ่มผลผลิต และเน้นกิจกรรมการผลิตมากกว่าสองกิจกรรมขึ้นไปที่เกื้อกูลซึ่งกันและกันในเวลาเดียวกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ
คือการสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร (Food safety) ให้แก่ผู้บริโภค โดยเน้นหนักไปที่การผลิตโดยไม่ใช้สารอนินทรีย์เคมีหรือเคมีสังเคราะห์แต่สามารถใช้อินทรีย์เคมีได้ เช่น การใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน การใช้น้ำหมักใบสะเดาในการพ่นเพื่อกำจัดวัชพืช เป็นต้น
ภูมินิเวศเกษตรมีจุดประสงค์เพื่อผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษเช่นเดียวกับเกษตรอินทรีย์ แต่เพิ่ม “คุณภาพ” และ “ความสม่ำเสมอ” ของผลผลิตด้วย ด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับผลผลิตที่ต้องการคุณภาพและมีความสม่ำเสมอ ทั้งนี้ปุ๋ยเคมีไม่ใช่สารพิษแต่เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการเพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับผลผลิตโดยตรงและรวดเร็วซึ่งปุ๋ยอินทรีย์ทำไม่ได้เพราะสลายตัวช้าและไม่สามารถควบคุมธาตุอาหารที่พืชต้องการได้ นอกจากนี้ภูมินิเวศเกษตรมีการกำหนดวิธีการ ชนิดและปริมาณการให้ธาตุอาหารพืชอย่างเหมาะสมกับชนิดและการเจริญเติบโตของพืชภายใต้การควบคุมของนักวิทยาศาสตร์เกษตรร่วมกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการคำนวณและให้ปุ๋ยเพื่อให้มีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.