ประเทศไทยขาดความรู้การจัดการสิ่งแวดล้อม (2565)

          มีอยู่ช่วงนึงที่คนชอบว่า NGO ว่า “เก่งแต่ค้าน” “ห้ามอย่างเดียว ห้ามทำโน้นนี่ห้ามทำนี่ ถ่วงการพัฒนา” เช่น ดร.โสภณ พรโชคชัย เคยพูดถึงขั้นว่า

“NGO มักจะโพนทะนาถึงภยันตรายต่างๆที่ไม่อาจพิสูจน์ได้
มาข่มขู่เพื่อหยุดยั้งการพัฒนาประเทศ
ส่งผลให้การพัฒนาประเทศต้องล่าช้า หรือถึงขั้นถอยหลังลงคลอง
บั่นทอนเสถียรภาพของชาติ”

“จะเดินไปทางไหนก็ไม่สำเร็จ
จนเกิดคำถามว่าคนเหล่านี้ถูกว่าจ้างโดยต่างชาติ
ให้มาถ่วงความเจริญของไทยหรือไม่”

หากเราทำความเข้าใจกัน จะพบว่า
จริงแล้ว ต่างฝ่ายต่างรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ อยากให้ประเทศได้ดีเหมือนกัน
เพียงแต่ “มองต่างมุม” และ “ให้ลำดับความสำคัญต่างกัน”

ดร.โสภณ เป็นนักวิชาการด้านอสังหาริมทรัพย์ มีความเชี่ยวชาญในงานประเมินค่าทรัพย์สิน ท่านมองในเรื่องของความคุ้มค่า แล้วจึงนำกำไรหรือรายได้ไปช่วยในส่วนอื่นๆ อย่าง ธรรมชาติ หรือ สิ่งแวดล้อม

ฝั่ง NGO ก็มีมุมมองแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เขาให้สำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก่อน
เพราะเขามองว่า ถ้าทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ดี จะเกิดปัญหาใหญ่หลายๆอย่าง และค่าซ่อม ค่ารักษา ค่าฟื้นฟู สิ่งแวดล้อมมันสูง และใช้เวลานาน

NGO ย่อมาจาก Non-government Organizations
มีกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น
การพัฒนาชนบท, การพัฒนาชุมชนเมือง, การพัฒนาเด็ก, การพัฒนาสตรี, สิทธิเด็ก, สิทธิสตรี,
สิทธิแรงงาน, อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, ดูแลสุขภาพ
และอีกหลายๆเรื่องที่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถทำได้หรือทำได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดอะไรหลายๆ อย่าง

ยกตัวอย่างเรื่อง สร้างเขื่อน เราจะเห็นว่า

  • ฝ่ายที่อยากจะสร้างเขื่อน ก็จะยกประโยชน์ของเขื่อน และ โอกาสที่เสียไปถ้าไม่สร้างเขื่อน
  • ฝ่ายที่คัดค้านก็มองว่า ผลกระทบของเขื่อนต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนมีมากกว่าสร้างเขื่อน

คำถามคือ . . . เราสามารถออกแบบและจัดการสิ่งแวดล้อม ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของทั้ง2ฝ่ายได้หรือไม่???

ปี2557 คัดค้านเขื่อนแม่วงก์

          เมื่อปี 2557 มีโครงการจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ และมีการคัดค้าน สุดท้ายโครงการนี้ก็ยกเลิกไป ตอนนั้นผมเองก็เป็นคนนึงที่คัดค้าน เหตุผลของผมก็ไม่ต่างกับคนทั่วไป ลำดับความสำคัญ ผมก็เลือกสิ่งแวดล้อมมาก่อนเหมือนคนอื่นๆ แต่มีเหตุผลด้านเวลา . . . ถ้าเราเอาเงินทุนการสร้างเขื่อนก้อนนี้บวกกับเวลาในการสร้างเขื่อน ไปในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในประเทศ มันจะสามารถตอบโจทย์กับความต้องการของทั้ง2ฝ่ายได้รึเปล่า

ณ ปัจจุบันทำได้แค่ปลายเหตุ (2565)

          เราจะเห็นว่า ปัญหาภัยปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วม แนวทางการแก้ไขที่พูดที่เราได้ยินกัน มีแต่การพูดที่ปลายเหตุ
มีการพูดถึงสิ่งแวดล้อม แต่ก็เป็นในเชิง อนุรักษ์ (อย่างที่กล่าวมา)

ลดการทำลาย   ซ่อมแซมและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม   รักษาให้คงอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีใครคุยหรือพูดให้ครบทั้ง3

ประเทศไทยมีคนมีความรู้ด้านป่าไม้มั๊ย? . . . คำตอบคือ “มี”
แต่เป็น นักสำรวจ นักอณุลักษณ์ ไม่ใช่ ออกแบบจัดการ

ประเทศไทยมีคนมีความรู้การจัดการภัยพิบัตมั๊ย? . . . คำตอบคือ “มี”
แต่นั่นเป็น เรื่องของเทคโนโลยี วิศวกรรม และการบริหารจัดการบ้านเมือง

ที่ประเทศไทยยังขาดคือ คนที่มีความรู้
ขาดคนมีความรู้ แต่มีองค์คความรู้ที่พร้อมสอนแล้ว

เป็นการออกแบบ สิ่งแวดล้อม ที่คำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพ
และใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ประกอบการตัดสินใจในการออกแบบ
เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 

นักภูมิลักษณ์​ 125 คนที่หายไป (2565)

อาจารย์ กนก เหวียนระวี (เจ้าของสนามกอล์ฟกรุงกวี)
อาจารย์รุ่นบุกเบิกของภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

มีวิสัยทัศน์ และเล็งเห็นว่า
จึงได้รวบรวมผู้ทรงคุณวุฒิด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์
ดร. ดนัย ทายตะคุ
ดร. พรธรรม ธรรมวิมล


ร่างหลักสูตร เพื่อเพาะพันธ์บัณฑิตที่จะมีความรู้ความสามารถออกแบบและจัดการสิ่งแวดล้อม
บนหลักฐานและความคิดทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

และมี ศ. จามรี จุลกะรัตน์ ให้คำวิพากษ์หลักสูตรนี้ว่า

“เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของประเทศและสาขาวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมด้านสิ่งแวดล้อม”

ตัวอย่าง

กรุงกวี

ปี 2554 น้ำไม่ท่วมกรุงกวี

อาจารย์กนกเป็นผู้ที่ส่งเสริมการออกแบบภูมิทัศน์โดยอิงกับธรรมชาติ เช่น การใช้ระบบนิเวศดูแลเรื่องแมลง แทนการใช้ยาฆ่าแมลง โดยมักยกกรณีตัวอย่างจากกิจการสนามกอล์ฟของอาจารย์เอง

ปี 2563 PM 2.5

นิทานบ้านไร่ BOKUJOU

          นิทานบ้านไร่ Bokujou เริ่มต้นจากพื้นที่ที่ไม่มีต้นไม้แม้แต่ต้นเดียว ใช้ความรู้การออกแบบสิ่งแวดล้อมบนฐานความรู้วิทยาศาสตร์เกษตร พัฒนาสวนจนเป็น สวนเมล่อนภูมินิเวศเกษตร สร้างระบบนิเวศน์ช่วยในการเพาะปลูก มีแมลงตัวห้ำช่วยกินแมลงศัตรูพืช

ผู้ใดสนใจศึกษา สามารถติดต่อได้ที่ “เพจ นิทานบ้านไร่ bokujou.orgเรายินดีที่จะแบ่งปันความรู้

Top