0.00 ฿
What are you Looking for?
เรามักจะได้เห็นหรือได้ยินบ่อยๆในการขายเมล่อนว่า
“หวาน 12 บริก”, “หวาน 13 บริก”, “หวาน 15 บริก”
ความจริงแล้ว . . .
หน่วยบริกซ์เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาณน้ำตาลและของแข็งที่ละลายได้ที่อยู่ในสารละลายนั้น
โดยปกติแล้วการวัดค่าบริกซ์นั้นจะใช้หลักการวัดค่าดัชนีการหักเหแสงของสารละลายด้วย “เครื่องวัดดัชนีการหักเหแสง” (Refractometer) โดยมีกฎที่ว่าสารละลายที่มีองค์ประกอบของน้ำตาลและสารอื่นๆที่ละลายน้ำได้นั้นจะมีค่าดัชนีหักเหแสง (Refractive index) ที่สูงกว่าน้ำกลั่น และยิ่งมีความเข้มข้นของตัวถูกละลายอย่างน้ำตาลสูงขึ้นมากเท่าไรก็จะทำให้ค่าดัชนีหักเหสูงขึ้นมากเท่านั้นดังนั้นจึงมีการนำหลักการจากแนวคิดนี้มาทำการวัดปริมาณของแข็งที่ละลายได้ในสารละลายที่มีน้ำตาลปนอยู่ เนื่องจากการวัดค่าบริกซ์นี้มีความสะดวก รวดเร็ว เพียงแต่ตักสารละลายตัวอย่างมาแค่หยดเดียว มาแหมะบนผิวปริซึม (prism) ของ Refracto meter แล้วส่องดูก็จะทราบค่าบริกซ์ของสารละลายนั้น
การวัดค่าบริกซ์นั้นไม่ได้จำเพาะเจาะจงแต่ความเข้มข้นของน้ำตาล แต่มันเป็นผลรวมของสารที่ละลายน้ำอยู่ในนั้นด้วย ทั้งกรด/เกลือ/และสารอื่นๆที่ละลายน้ำได้ ที่ส่งผลทำให้การหักเหแสงเปลี่ยนไปนะเออ ดังนั้นหากเอาน้ำเกลือล้วนๆที่ไม่มีความหวานมาวัดค่าบริกซ์ก็จะได้มีค่าบริกซ์เกิดขึ้นได้เช่นกันทั้งๆที่ไม่มีความหวานเลย
ดังนั้นค่าบริกซ์จึงไม่ใช่หน่วยวัดความหวาน แต่เป็นหน่วยวัดความเข้มข้นของผลรวมของน้ำตาลและของแข็งที่ละลายได้ในสารละลาย (มีหน่วยเป็น % ของแข็งละลายได้ทั้งหมดในน้ำต่อน้ำหนัก)
จะเห็นว่าค่าบริกซ์สามารถกำหนดได้ เพราะฉนั้นการตัดสินใจซื้อจึงไม่ควรดูที่ค่าบริกซ์อย่างเดียว จึงควรดูชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของสวนด้วย เพราะเมล่อนคุณภาพ ไม่ได้มีแค่หวานอย่างเดียว แต่ต้องปลอดสารพิษด้วย ซึ่งหาลายๆสวนในไทยก็มีมาตราฐานที่สูงมากๆ เช่น และถ้าต้องการสั่งจองเมล่อนหวานๆของสวนนิทานบ้านไร่ bokujou สามารถจองได้ที่ LINE: @bokujoufarm เราเปิดจองพร้อมโปรโมชั่นในแต่ละเดือน ผ่านทางLINEที่คนชอบผลไม้ต้องไม่พลาด