0.00 ฿
What are you Looking for?
เป็นที่รู้กันดีว่า เมล่อนของนิทานบ้านไร่ มาจากการใช้ชันโรงผสมเกสรเพื่อให้มีการติดผลที่มากขึ้นและได้ลูกที่หวานขึ้น ฟังดูแล้วเหมือนจะง่าย หลายคนคงคิดว่า “สบาย . . . ไม่ต้องมาผสมเกสรเมล่อนทีละดอก . . . แค่ปล่อยชันโรงก็เสร็จแล้ว…” . . . ใช่ครับสบายไม่ต้องมาผสมเกสรเมล่อนทีละดอก . . . แต่ . . . มันก็ไม่ง่ายอย่างนั้น “ครอปแรกที่เราใช้ชันโรงผสมเกสร เมล่อนเราเสียหายถึงขั้นที่ไม่ได้เก็บนะครับ” บทความนี้จะมาทำความรู้จักกับตัวชันโรง ปัญหาและความยากในการใช้ชันโรงผสมเกสรที่ไม่มีใครบอก
ชันโรง แมลงชนิดหนึ่งจัดอยู่ในจำพวกผึ้งแต่ไม่มีเหล็กไนเหมือนผึ้ง มีพฤติกรรมคล้ายผึ้ง มีความสามารถในการผสมเกสรที่ทำให้พืชมีการติดผลมากขึ้น จึงมีการนำมาช่วยเพิ่มผลผลิตทางเกษตรที่มากขึ้น
การเลี้ยงชันโรงในประเทศไทยนั้น ยังไม่แพร่หลายเหมือนการเลี้ยงผึ้ง แต่ก็มีการเลี้ยงเพื่อใช้เป็นแมลงผสมเกสรอยู่บ้างเช่น ทุเรียน เงาะ และไม้ผลต่างๆ ชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรที่ไม่มีความเฉพาะเจาะจงกับชนิดของดอกไม้ สามารถผสมเกสรพืชได้หลากหลายชนิดมากกว่าผึ้งพันธุ์ ง่ายต่อการจัดการเพราะไม่มีเหล็กไนจึงไม่มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ระยะทางในการบินไปหาอาหารไม่ไกลจากรังมากนัก
ชันโรงมีความรับรู้ต่อสิ่งแปลกปลอมที่ไวมาก โดยเฉพาะสารเคมี หากชั้นโรง 1 ตัว โดนสารเคมีแล้วกลับเข้ามาในรัง อาจจะทำให้ชันโรงตายยกรังไปเลยทีเดียว
หลายท่านอาจจะสงสัยว่าโรคพืชเกี่ยวอะไรกับชันโรง แต่ที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆก่อนที่เราจะนำชันโรงเข้า เพราะพฤติกรรมของชันโรงคือจะบินไปเกาะนู้นที นั้นที ซึ่งหากในโรงเมล่อนของเรามีโรคแม้แต่นิดเดียว ก็จะทำให้เกิดการแพร่จะจายของโรคได้เร็ว และ ไวมากๆ รู้ตัวอีกทีก็เอาไม่อยู่แล้ว ดั้งนั้นการสังเกตุโรคพืชเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนการจะนำชันโรงเข้า
อุณหภูมิที่มีอิทพลต่อพฤติกรรมของชันโรงอยู่ในช่วงประมาณ 30-37 องศาเซลเซียสไม่เกินนี้ ชึ่งเป็นช้วงที่ชันโรงออกหาอาหารมากที่สุด แต่หากอุณหภูมิ ต่ำ หรือ สูงเกินไป จะทำให้ชันโรงมีพฤติกรรมในการออกหาอาหารลกลง หรือ หากมีอุณหภูมิที่สูงมากเกินไปอาจจะทำให้ชันโรงตายได้
เมล่อน1ต้น จะเด็ดคัดลูกให้เหลือเพียงต้นเดียว แต่ชันโรงผสมให้ทุกดอก
ชันโรงมีพฤติกรรมตอมดอกไม้ได้ทุกดอกไม่ว่าดอกนั้นจะเคยถูกผสมเกสรมาแล้วหรือไม่ จะมีกลิ่นของชันโรงจากรังอื่นหรือผึ้งชนิดอื่นเคยตอมไปแล้วไม่ จากพฤติกรรมนี้ของชันโรงทำให้ทุกดอกของเมล่อนเกิดการผสมเกสรทุกดอก แต่1ในการทำหวานเมล่อน คือ ใน1ต้นจะต้องเด็ดคัดลูกให้เหลือเพียง1ลูก เพื่อให้สารอาหาร(แป้ง)ไปรวมที่ลูกนั้นลูกเดียว หากมีมากกว่า1ลูก ความหวานก็จะถูกแบ่งไปให้ลูกอื่นๆด้วย
การใช้ชันโรงผสมเกสรจึงต้องตรวจให้ดี อย่าให้มีลูกที่ไม่ต้องการ
ในเรื่องของจำนวนนั้น จะให้เป๊ะเลยก็เป็นไปไม่ได้ แต่เราจะใช้การสังเกตุร่วมด้วย หากเราวางชันโรงไว้ในโรงแล้ว ก็ต้องหัดสังเกตุเดินดูรอบๆโรง ว่าเราพบชันโรงถี่แค่ไหน หาก ไม่ค่อยเห็น เราก็จะเพิ่มรังเข้าไปอีก เพื่อมให้เกิดการผสมเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในส่วนของฟาร์มเรา เราจะวางรังของชันโรง 1 รัง ต่อเมล่อนประมาณ 250 ต้น
บางคนจะผสมก็จะยกรังเข้าไปเลย โดยที่ไม่รู้ว่าช่วงที่เรายกรังไปนั้นชันโรงบางตัวอาจจะออกไปหากินแต่พอกลับมาก็หารังไม่เจอ เพราะชันโรงจะบินกลับเฉพาะรังของมันเอง เฉพาะนั้นเราต้องทราบก่อนเลยว่าพฤติกรรมของชันโรง จะออกหากินตอนเช้า แล้วจะกลับเข้ารังช่วงพระอาทิตย์ตกดิน ดั้งนั้นช่วงเวลาที่เราจะปล่อยชันโรงส่วนใหญ่คือช่วงกลางคืน เพราะเป็นช่วงที่ชันโรงกลับเข้ารังหมดแลล้วนั้นเอง
ตำแหน่งและทิศทางก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะชันโรงจะออกผสมเกสรเมื่อเห็นแสงตะวัน ถ้าสังเกตุดูดีๆวันที่ฟ้าปิดชันโรงจะไม่ค่อยออกผสม ดั้งนั้นเราควรจะหันตำแหน่งของประตูรังไปทางทิศตะวันออก เพื่อให้ได้รับแสงเต็มที่
จะเห็นได้ว่า ช่วงนี้เทรนสุขภาพกำลังมาแรงผู้คนส่วนใหญ่หันมารักสุขภาพมากขึ้น และลดการได้รับสารเคมีดั้งนั้นชันโรงถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารนำมาต่อยอดกับการผลิตเมล่อนได้ แต่ก็ต้องทราบรายละเอียดและสิ่งที่ครวรู้ก่อนการลงมือปฏิบัติทุกครั้ง เพื่อการทำเมล่อนให้สำเร็จในทุกๆครั้ง
เมล่อนของ “นิทานบ้านไร่ bokujou” ปลูกในรูปแบบของ “ภูมินิเวศเกษตร” ปลอดสารพิษและมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรับประกันความหวาน หากสนใจเมล่อนของ นิทานบ้านไร่ bokujou สามารถจองได้ที่ LINE: @bokujoufarm เราเปิดจองพร้อมโปรโมชั่นในแต่ละเดือน ผ่านทางLINEที่คนชอบผลไม้ต้องไม่พลาด