การปลูกหอมหัวใหญ่

234739838_6038148209592197_6711924458928099234_n
  • ชื่อวิทยาศาสตร์   Allium cepa L.
    วงศ์   Alliacese
    ชื่อสามัญ   Onion
  • เป็นพืชหัว (bulb)
  • ปลูกได้ในช่วงฤดูหนาว
  • สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำและอากาศดี
  • ค่าความเป็นกรด-เบสช่วง 6.0–6.8 มีความเค็มของดินปานกลาง
  • อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 15–24 องศาเซลเซียส
  • เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับหอมแดง
  • ต้นสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร
  • ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีลักษณะกลม
  • มีเปลือกนอกบางๆหุ้มอยู่ เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาลอ่อน ภายในเป็นกาบสีขาวซ้อนกัน
  • ลักษณะของดอกมีสีขาว เป็นช่อ มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาว แทงออกจากลำต้นใต้ดิน
  • ช่วงเวลาในการเพาะปลูกและเก็บผลผลิต
    • ให้ผลผลิต 2 ครั้งใน 1 ปี คือ ช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน และในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์

การเตรียมดิน

  • หอมหัวใหญ่เป็นผักประเภทลงหัวดินที่จะปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
  • ไม่ทนต่อดินที่มีกรดจัด ถ้าดินเป็นกรดต่ำกว่า (pH) 5.8 จะเจริญเติบโตไม่ดี ถ้า pH สูงกว่า 6.5 ผลผลิตจะลดลง
  • ดินที่ใช้ปลูกควรตรียมไว้อย่างดีด้วยการไถพรวนให้ร่วนโปร่งและลึก เพราะรากหอมหัวใหญ่หยั่งลึกลงไปในดินประมาณ 45-60 เชนติเมตร ดินในแปลงเพาะควรจะเตรียมให้ร่วนละเอียดมากๆ เก็บดินก้อนใหญ่ๆ ออกให้หมด
  • พื้นผิวแปลงเพาะควรจะราบเรียบเพราะเมล็ดมีขนาดเล็กและบอบบาง หากดินก้อนใหญ่จะมีโพรง เมื่อหว่านเมล็ดลงไป เมล็ดจะแทรกตัวลงไปอยู่ลึกมากเกินกว่าที่จะงอกขึ้นมาพ้นดินได้

การเพาะกล้า

  • ส่วนมากนิยมปลูกหอมหัวใหญ่ด้วยเมล็ดด้วยการเพาะกล้าในแปลงเพาะเป็นเวลา 45-50 วัน แล้วจึงย้ายกล้าไปปลูกในแปลงใหญ่
  • ใช้เมล็ดหอมหัวใหญ่ 30 กรัมในเนื้อที่ 1 ตารางเมตร และถ้าต้องการปลูก 1 ไร่ ก็จะใช้เมล็ดพันธุ์ 450 กรัม
    • นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้เมล็ดงอกสม่ำเสมอ คลุกด้วยสารกำจัดโรคแมลง
  • พื้นที่แปลงเพาะควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ไม่มีน้ำขัง และอยู่ใกล้แปลงปลูกเพื่อสะดวกในการย้ายกล้า
  • ดินที่จะใช้เพาะกล้าต้องเป็นดินร่วนหรือดินทราย มีการเตรียมแปลงดีกว่าแปลงกล้าผักอื่นๆ
    เพราะกล้าหอมจะอยู่ในแปลงนาน 40-45 วัน จึงย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยดอก และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 คลุกเคล้ากับดินให้เข้ากัน ปรับและเกลี่ยดินให้เรียบ
  • การหว่านเมล็ดจะทำร่องตามขวางของแปลงลึก 1 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 10 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลงตามร่องที่ทำไว้กลบด้วยดิน
  • ฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช ใช้ฟางแห้งคลุมแปลง รดน้ำพอชุ่มทุกวัน เมล็ดจะงอกภายใน 4-5 วัน
  • ฤดูเพาะกล้าส่วนใหญ่ทำในฤดูฝน จึงจำเป็นต้องทำหลังคาให้แปลงเพาะ ใช้ไม่ไผ่ทำโครงแล้วคลุมด้วยพลาสติก ป้องกันต้นกล้าซ้ำเสียหาย
  • เมื่อกล้างอกได้ 3 วันค่อยดึงฟางและเปิดผ้าพลาสติกคลุมแปลงออก ระยะแรกเปิดช่วงเช้าและบ่าย หลังจากนั้นเปิดออกตลอดทั้งวัน จะปิดก็ต่อเมื่อมีฝนตกหนักเท่านั้น

วิธีปลูก

  • เมื่อกล้าอายุได้ 40-50 วัน เริ่มถอนขึ้นมาปลูก
    • ก่อนถอนรดน้ำจนทั่วแปลงก่อน
    • ระมัดระวังอย่าถอนให้รากขาด
    • นำกล้าแช่ในสารป้องกันเชื้อรา
  • กล้าที่ถอนแล้วไม่ควรตัดใบออกเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายทางรอยแผลที่ตัด
  • นำกล้ามาปลูกหลุมละ 1 ต้น
    • ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 10-15 เชนติเมตร ระหว่างแถว 15-20 เซนติเมตร
  • เลือกเอาต้นที่มีขนาดเดียวกันเพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว
  • กลบดินโคนต้นกล้า รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ฟางแห้งคลุมแปลงบางๆ ป้องกันไม่ให้ดินแห้งและต้นหอมจะได้แทงใบขึ้นได้ง่าย

การดูแลรักษา

  • การให้น้ำ การให้น้ำหลังจากปลูกใหม่ๆ จะให้น้ำวันเว้นวัน เมื่อตั้งตัวได้แล้วจึงให้น้ำ 3-5 วันต่อครั้ง โดยพิจารณาดูความชื้นของดินควบคู่ไปด้วย
  • ในช่วงการเจริญเติบโตของหอมหัวใหญ่ ควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เนื่องจากมีผลต่อปริมาณและคุณภาพของหัวหอม การให้น้ำจะลดลงและหยุดให้น้ำเมื่อหัวหอมเริ่มแก่

การใส่ปุ๋ย

          หอมหัวใหญ่มีความต้องการธาตุโปแตสเซียมมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัส แคลเซี่ยม และแม็กนีเชี่ยมตามลำดับ หากมีการใส่ปุ๋ยเสริมด้วยปุ๋ยแอมโมเนียม ซัลเฟตจะทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นอีก ดังนั้นปุ๋ยที่เหมาะสมควรจะเป็นปุ๋ยสูตร 12 12-17-2 หรือ 13-13-21 ใส่ในอัตราไร่ละ 100 กก. ใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก เมื่อปลูกแล้วควรใสปุ๋ยเสริมสองครั้ง ครั้งแรกใส่เมื่อต้นตั้งตัวใหม่ๆ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 30 วัน หากดินเป็นกรดจัดควรใช้ปุ๋ยแคลเซี่ยม หรือยูเรีย หากดินเป็นด่างหรือเป็นกลางควรใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ใส่ครั้งละ 25 กก.ต่อไร่ ปุ๋ยยูเรียใส่ครั้งละ 12-13 กก.ต่อไร่

          การปลูกหอมนอกฤดู บางที่ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30กก.ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย 25 กก.ต่อไร่ เมื่ออายุ 30 วันหลังปลูกหลังจากนั้นใส่อีก 2 ครั้ง เมื่ออายุ 40-45 วัน และ 60-70 วัน

          ส่วนปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์นั้น มีความสำคัญในแง่ทำให้ดินร่วนซุย ช่วยทำให้ปุ๋ยเคมีอยู่ในฐานะที่รากพืชจะดูดซับเอาไปใช้ได้อย่างดียิ่ง อัตราที่ใส่ประมาณ 2-4 ต้นต่อไร่ โดยใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่ใช้เป็นปุ๋ยรองพื้น ใส่เป็นแนวยาวขนานกับแถวปลูก

การเก็บเกี่ยว

          หอมหัวใหญ่ที่ปลูกในภาคเหนือ สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อแก่จัดมีอายุ 150 วันนับจากวันงอก ต้นหอมที่แก่ใบจะกางหรือถ่างออก ใบมีสีเทาเพิ่มมากขึ้น เปลือกหุ้มหัวชั้นนอกเป็นสีน้ำตาลขม หอมในไร่จะเหลือแต่หัวโดดๆ ส่วนต้นแห้งหลุดหายไป เป็นสัญลักษณ์ว่าเก็บเกี่ยวได้แล้ว ไม่ควรให้น้ำกับหอมในเวลานี้ แต่ถ้าปลูกนอกฤดูในพื้นที่จังหวัดอื่น เช่น กาญจนบุรี จะเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าภาคเหนือ 30-40 วัน

          การเก็บเกี่ยวใช้จอบหรือเสียมขุดดินข้างๆ แล้วดึงขึ้นมาตรงๆ จะทำให้หัวช้ำหรือเป็นแผลน้อยที่สุด ถ้าหัวลอยอยู่ก็สามารถถอนได้เลย ไม่ควรโยนหัวหอมที่ถอนลงไปกับพื้นจะซ้ำง่ายและเน่าเสียภายหลัง การเก็บเกี่ยวเมื่อใบแห้งหมดแล้วจะเก็บรักษาได้นานรากจะไม่งอกออกมา

          เมื่อถอนขึ้นมาแล้ว ควรจะทำให้หอมหัวใหญ่แห้ง เพื่อจะเก็บไว้ได้นาน และหัวหอมมีผิวสวยสะอาด ถอนแล้วนำมาเรียงกันเป็นแถวๆ ในไร่ เพื่อตากให้ต้นและใบแห้ง การตากนั้นตากทั้งแดดและน้ำค้างทิ้งไว้ 5 วันจนใบแห้งกรอบ

          ลักษณะของการตากจะเอาหัววางเรียงกันบนพื้นดิน ให้ส่วนของต้นและใบวางพาดทับบนหัวอีกทีหนึ่งป้องกันมิให้ผิวของหัวสุกแดด อย่าวางให้หัวทับกัน แต่วางให้หัวเรียงต่อกันไป ตากจนแห้งแล้วก็นำมาตัดต้นออก ไม่ควรตัดต้นขณะที่ใบยังสดอยู่อย่างเด็ดขาด ควรตัดให้ห่างจากหัวประมาณครึ่งนิ้ว ควรตัดหัวหอมที่มีคอหนาออกขายเป็นหอมลด เพราะหอมหัวใหญ่ที่มีคอหนาจะเก็บไว้ได้ไม่นาน มักงอกเสียก่อน หัวจะฝ่อและเหี่ยวเร็ว

          นี่ก็เป็นเกร็ดความรู้เรื่อง “การปลูกหอมหัวใหญ่” ที่นิทานบ้านไร่นำมาเล่าให้ฟัง ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่เราพร้อมจะแบ่งปัน โดยเฉพาะการทำ “ภูมินิเวศเกษตร” การเกษตรปลอดสารพิษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้สิ่งแวดล้อมมาช่วยทำเกษตร สามารถติดตามได้ที่ FANPAGE นิทานบ้านไร่ bokujou หรือขอคำปรึกษาการทำ “ภูมินิเวศเกษตร” ได้ที่ LINE: @bokujoufarm

ถ้าชอบชอบบทความ หรือสาระความรู้นี้มีประโยชน์
อย่าลืมแชร์ต่อให้เพื่อนๆได้อ่านด้วยนะครับ 

Top